top of page

PLAY ACADEMY

Institute of Child Cognitive Development and Positive Parenting

Play & Grow

PBL & Life Skill (7 – 11 Yrs)

PBL & Life Skills (7 – 11 Yrs)

What Do We Teach?

“Play Acedemy” มิได้มีเป้าหมายให้ผู้เรียนสะสมความรู้เพียงเพื่อเข้าสู่สนามแข่งขันทางเศรษฐกิจ หากแต่ต้องการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ผู้เรียนเหล่านี้ให้เป็นผู้ “คิดได้” และ “คิดเป็น” มีความภาคภูมิใจในตัวเอง รู้จักตัวเอง มีความมั่นคงของจิตใจจากโลกภายในของตนเอง บริหารจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกได้ รู้ว่า “ความสุข” และคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตคืออะไร ภายใต้ศักยภาพที่เขาเป็นอยู่ และมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกใบนี้ด้วยความ “เข้าใจ”

วิดีโอแนะนำหลักสูตร PBL & Life Skills

1. รายละเอียดหลักสูตร PBL & Life Skills

พ่อ แม่ และผู้ปกครองที่สนใจให้บุตรหลาน เข้าเรียนที่สถาบัน Play Academy กรุณานัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน เพื่อพาบุตรหลานเข้าประเมินพัฒนาการและทักษะ โทร. 083-596-5596

หลักสูตร PBL & Life Skills

 

  • เหมาะสําหรับเด็กอายุ 7 - 11 ปี (ชั้นประถมศีกษาปีที่ 1 - 6)

  • ระยะเวลาเรียน 40 ครั้ง (80 ชั่วโมง)

  • เรียนครั้งละ 2 ชั่วโมง

  • ใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอน

เน้นการพัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) ซึ่งเป็นการทํางานของสมองส่วนหน้าอย่าง เต็มประสิทธิภาพ โดยใช้แนวคิด Problem – Based Learning (การเรียนรู้ตามพัฒนาการของสมอง และทักษะการแก้ปัญหาเป็นฐาน) เพื่อให้เด็กมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาควบคู่กับการมี ทักษะในการควบคุมตัวเอง ยับยั้งชั่งใจเป็น มีไหวพริบ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติอันเป็นคุณลักษณะที่ จําเป็นต่อชีวิตที่สําเร็จในศตวรรษที่ 21

หลักสูตรนี้ รับนักเรียนกลุ่มละ 5 คน

 

ผู้เรียนจะเรียนผ่านการลงมือทํา (Learn by Doing) โดยใช้บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือหลัก เพื่อ จําลองสถานการณ์ของปัญหาจากภายนอก และฝึกทักษะทางสังคมได้เป็นอย่างดี เด็กช่วงอายุ 7-11 ปีหรือเด็กระดับประถมศึกษาจะมีตัวตน (Self) ที่มั่นคงสามารถสื่อสารความคิดของตนเองออกมาได้ดี และเป็นช่วงที่พัฒนาการทางความคิดทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามธรรมชาติ ถึงเวลาที่สมองส่วนหน้า ที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ วางแผน และแก้ไขปัญหามีความพร้อมที่จะทํางานอย่างครบถ้วน

 

นักประสาทวิทยาพบว่าโครงการสมองของเด็กวัยนี้ยังมีปริมาณจุดเชื่อมเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น และลดลงอยู่ เรื่อยๆแต่หลังจากลูกอายุเกิน 12 ปีไปแล้ว หากเส้นใยสมองส่วนใดไม่ได้รับการกระตุ้นจากข้อมูล ภายนอกจะเกิดปรากฏการณ์สลายตัวไป ดังนั้น ช่วงวัย 6-12 ปีจึงเป็นช่วงเวลาทองที่จะสร้างทักษะที่จําเป็นต่อการใช้ชีวิตในระยะยาวของเด็กคนหนึ่งต่อไป ทักษะที่จําเป็นต่อการดําเนินชีวิตของเด็กให้คนให้ เติบโตขึ้นเป็นคนดี พึ่งพาตัวเองได้ และมีความสุขคือ “ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ” และ “ทักษะชีวิต” นั่นเอง

 

Play Academy จึงเน้นการบ่มเพาะทักษะการวิเคราะห์ คิดวางแผน คิดมีเหตุผล และมีทักษะใน การแก้ปัญหาให้แก่เด็กอายุ 6-12 ปีด้วยการใช้บอร์ดเกม ของเล่นพัฒนาทักษะการคิด กิจกรรมพัฒนา ทักษะ EF หรือ Executive Functions ซึ่งเป็นการทํางานของสมองส่วนหน้าด้านการรู้คิด การใช้เหตุผล การวางแผน การแก้ไขปัญหา ความเพียรพยายาม การควบคุมอารมณ์ เป็นต้น โดยใช้บอร์ดเกม และ กิจกรรมจําลองสถานการณ์จริงเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนากระบวนการคิดของเด็กให้เป็นระบบ

 

ในช่วง 3 ปีมานี้ บอร์ดเกมสําหรับเด็ก และครอบครัวจากต่างประเทศเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อการ เรียนรู้ทักษะการคิดของเด็กไทยมากขึ้น และตลอด 3 ปีที่ผ่านมา Play Academy ได้ริเริ่มใช้บอร์ดเกม พัฒนาทักษะการคิดของเด็กวัยประถมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

2. ประโยชน์ของการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม

  1. บอร์ดเกมใช้ฝึกทักษะการคิด (Thinking Skill) ได้ดีมาก ในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปเป็นวัยที่เหมาะสมใน การฝึกทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ เนื่องจาก เป็นวัยที่เรียนรู้เหตุ และผลได้ดีขึ้น สามารถคิดคาดการณ์ล่วง หน้าได้ บอร์ดเกมที่ซับซ้อนช่วยพัฒนาให้เด็กรวบรวมข้อมูลของเกมได้ดี ตั้งแต่เป้าหมาย กติกา รวมถึงคิดได้อย่างมีวิจารณญาณระหว่างลงมือเล่น

  2. บอร์ดเกมใช้พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving Skill) ได้ดี บอร์ดเกมสมัยใหม่มักจําลอง ภาพรวมของเกมเป็นสถานการณ์ที่ผู้เล่นต้องแก้ปัญหาภายใต้ทรัพยากร และเวลาที่มีอยู่ ในช่วงแรกของ การเรียนรู้ บอร์ดเกมหลายบอร์ดอาจดูยากไปสําหรับผู้เล่น แต่เมื่อได้ลงมือทําซ้ําด้วยความถี่ที่เหมาะสม ผู้เล่นจะพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดค่ะ โดยไม่ต้องใช้การบังคับหรือ สร้างความกดดันใดๆทั้งสิ้น เพราะ แนวทางการสอนจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่งเสริมให้ผู้เล่น เห็นคุณค่าในตัวเองว่า “หนูเก่งมากกว่าที่หนูคิด” และ “หนูสามารถทําได้ดีกว่าที่กําลังทําอยู่”

  3. บอร์ดเกมใช้พัฒนาทักษะทางสังคม (Social Emotional Learning Skill) ได้ดีมาก เกมที่มีลักษณะ เป็นคู่หรือทีม เด็กๆจะต้องรู้จักแบ่งงานกัน รับฟังความคิดเห็นซึ่งกัน และกัน รู้จักการใช้เหตุผลของตัว เองเจรจากับเพื่อน รอคอย มีน้ําใจนักกีฬา รู้แพ้ ชนะ อภัย ระหว่างเล่นมีการหยอกล้อกัน ได้เรียนรู้ อารมณ์ และเหตุผลของผู้อื่น สิ่งเหล่านี้มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติ ในอนาคต

  4. บอร์ดเกมใช้พัฒนาศีลธรรมจรรยา (Ethical Characteristics) ได้ดี ระหว่างการเล่นผู้เล่นซื่อตรงต่อ กฏ กติกา เมื่อพบว่าตนเองทุจริตโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็กล้ามากพอที่รับผิดด้วยตนเอง คุณสมบัตินี้มี คุณค่าสําหรับมนุษย์มาก เพราะ เป็นความเจริญส่วนตัวที่มีมาจากภายใน และนําไปสู่ความนับถือตัวเอง

  5. บอร์ดเกมทําให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง (High Self-Esteem) และมีภาพลักษณ์แห่งตน (Self-Image) ที่ดี กล่าวคือ เมื่อลงมือเรียนรู้ในครั้งแรก หลายต่อหลายคนยังไม่เข้าใจ ยังรวบรวมข้อมูลได้ไม่ทั้งหมด ยัง ตัดสินใจได้ไม่ดีนัก แต่เมื่อมีความพยายามที่สม่ําเสมอ กล้าตัดสินใจลงมือทํา เด็กทุกคนสามารถ พัฒนาการเล่นได้จนบรรลุเป้าหมายของเกม เด็กได้เรียนรู้เส้นทางก่อนที่จะประสบความสําเร็จในเกม ทําให้เด็กหลายคนมีความภาคภูมิใจในตัวเอง เชื่อมั่นว่า “หนูทําได้” และมีภาพลักษณ์แห่งตนที่ดี ทําให้ เด็กไม่กลัวปัญหา ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และรู้ว่าตัวฉันมีดีอะไร

  6. บอร์ดเกมช่วยให้เด็กเบี่ยงเบนความสนใจจากสื่ออิเลคทรอนิคส์ และอุปกรณ์สื่อสารต่างๆได้ดี และยัง ทําให้เกิดกิจกรรม และเวลาคุณภาพในครอบครัวได้ด้วย